จรรยาบรรณของพนักงาน

แนวทางปฏิบัติของผู้บริหาร

ผู้บริหารมีส่วนเกี่ยวข้องกับบุคคลหลายกลุ่ม เช่น ผู้ถือหุ้น พนักงาน ลูกค้า คู่ค้า คู่แข่ง และสุดท้ายคือ สังคม จึงกำหนดกรอบให้เป็นแนวทางสำหรับ ผู้บริหารไว้ดังนี้

ผู้บริหารปฏิบัติต่อผู้ถือหุ้น

  • ปฏิบัติหน้าที่ด้วยความซื่อสัตย์สุจริต
  • ปฏิบัติหน้าที่อย่างระมัดระวัง
  • ปฏิบัติหน้าที่อย่างมืออาชีพ
  • ไม่หาประโยชน์ให้ตนเองและพวกพ้อง จากข้อมูลขององค์กร ซึ่งยังมิได้เปิดเผยต่อสาธารณะ
  • ไม่เปิดเผยข้อมูลความลับขององค์กรต่อบุคคลภายนอก
  • ไม่ดำเนินการใดๆ อันเป็นลักษณะที่อาจก่อนให้เกิดความขัดแย้งทางผลประโยชน์ต่อองค์กร

ผู้บริหารปฏิบัติต่อพนักงาน

  • ปฏิบัติต่อพนักงานอย่างเป็นธรรมในเรื่องผลตอบแทน
  • ปฏิบัติต่อพนักงานในเรื่องความปลอดภัยในชีวิตและทรัพย์สิน
  • ปฏิบัติต่อพนักงานด้วยความสุจริตใจ ในเรื่องที่เป็นคุณและเป็นโทษ
  • ปฏิบัติต่อพนักงานด้วยความสุภาพ
  • รับฟังข้อคิดเห็นและข้อเสนอแนะอย่างมีเหตุมีผล
  • ย้ำให้พนักงานเข้าใจในเรื่องจรรยาบรรณ ซึ่งพนักงานปฏิบัติได้
  • ส่งเสริมให้พนักงานได้รับการอบรมเพิ่มเติมในสาขาวิชาที่เกี่ยวข้องกับสายงาน

ผู้บริหารปฏิบัติต่อลูกค้า

  • ปฏิบัติต่อลูกค้าอย่างเป็นธรรมในเรื่องสินค้าและบริการ
  • เปิดเผยข่าวสารข้อมูลของสินค้าและบริการอย่างถูกต้องครบถ้วน
  • เปิดให้ลูกค้าสามารถร้องเรียนได้เกี่ยวกับความไม่สมบูรณ์ของสินค้าและบริการ
  • รักษาความลับของลูกค้าอย่างจริงจัง เพื่อมิให้เกิดผลเสียหายหรือเป็นที่รำคาญแก่ลูกค้า
  • ปฏิบัติตามข้อตกลงและเงื่อนไขต่างๆ กับลูกค้าอย่างเป็นธรรม
  • หากปฏิบัติตามข้อตกลงหรือเงื่อนไขไม่ได้ ควรรีบแจ้งให้ลูกค้าทราบ เพื่อหาทางออกร่วมกัน

ผู้บริหารปฏิบัติต่อคู่ค้า

  • ไม่เรียกร้องหรือรับผลประโยชน์ใดๆ ที่ไม่ชอบธรรมจากคู่ค้า
  • ปฏิบัติตามเงื่อนไขต่างๆ ที่มีต่อคู่ค้าอย่างเป็นธรรม
  • หากปฏิบัติตามเงื่อนไขข้อใดไม่ได้ ให้รีบแจ้งคู่ค้าทราบล่วงหน้า เพื่อร่วมกันหาแนวทางแก้ไข

ผู้บริหารปฏิบัติต่อคู่แข่ง

  • ประพฤติปฏิบัติภายใต้กรอบกติกาของการแข่งขันที่ดี
  • ไม่แสวงหาข้อมูลที่เป็นความลับของคู่แข่งขันทางการค้าด้วยวิธีที่ไม่สุจริต

ผู้บริหารปฏิบัติต่อสังคม

  • ไม่กระทำการใดๆ ที่จะส่งผลเสียต่อสภาพแวดล้อมเกินกว่าที่กฎหมายกำหนด
  • ปฏิบัติหรือควบคุมให้มีการปฏิบัติตามเจตนารมณ์ของกฎหมายและกฎระเบียบ